บทความ

ส่งสินค้าระหว่างประเทศ ต้องรู้จัก Incoterms

ส่งสินค้าระหว่างประเทศ ต้องรู้จัก Incoterms

Incoterms หรือ International Commercial Terms เป็นความรู้พื้นฐานที่ควรทราบและเกี่ยวข้องกับการส่งสินค้าหรือพัสดุระหว่างประเทศ (การส่งของไปต่างประเทศ) เนื่องจากเป็นเงื่อนไขในการขนส่งหรือส่งมอบสินค้าระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยเป็นขอบเขตของความรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้น ซึ่งสำหรับ Incoterms นั้น โดยปกติแล้วจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบทุก ๆ 10 ปี เพื่อให้เข้ากับยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการค้า ซึ่งฉบับล่าสุดก็คือ Incoterms 2020 โดยมีการเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2020 เป็นต้นมา โดยมีกฎระเบียบทั้งหมด 11 กฎ ดังต่อไปนี้

EXW - Ex Works

หรืออาจจะใช้คำที่รู้จักกันดีก็คือ “ราคาหน้าโรงงาน” ซึ่งเทอมการส่งมอบในรูปแบบนี้ ทางผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบเฉพาะตัวสินค้า ณ จุดที่วางขายสินค้าเท่านั้น เช่น ครบตามคำสั่งซื้อ มีคุณภาพตามมาตรฐาน และไม่มีความเสียหาย โดยผู้ขายมีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อที่หน้าร้าน หรือหน้าโรงงาน โดยไม่ต้องขนสินค้าขึ้นยานพาหนะที่มารับ
ซึ่งหลังจากมีการส่งมอบสินค้าเรียบร้อยแล้ว ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับผิดชอบในความเสี่ยงต่าง ๆ หลังจากนี้ทั้งหมด

FCA – Free Carrier

จะเป็น Terms ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่า ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นรวมถึงค่าขนส่งจนถึงสถานที่ส่งมอบสินค้าที่ทางผู้ซื้อกำหนด เช่น โกดังที่ท่าเรือหรือสนามบิน เป็นต้น ซึ่งผู้ขายยังต้องรับผิดชอบในเรื่องของการส่งออก รวมไปถึงการชำระค่าภาษีอากรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพิธีการส่งออกด้วย และเมื่อสินค้าถูกส่งมอบแล้ว ผู้ซื้อจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งทางเครื่องบินหรือเรือ และรับความเสี่ยงทั้งหมดหลังจากได้มีการส่งมอบสินค้าเรียบร้อยแล้ว

FAS – Free Alongside Ship

สำหรับเทอมนี้จะมีเพิ่มเติมจาก FCA คือ ผู้ขายจะรับผิดชอบจนถึงสถานที่ที่เป็นกาบเรือ ท่าเรือที่ผู้ซื้อกำหนด หรือสนามบินในฝั่งต้นทางเท่านั้น ส่วนของค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าขึ้นพาหนะ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า รวมถึงความเสี่ยงภัยในการนำของขึ้นพาหนะและระหว่างการขนส่ง จะตกเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบ และผู้ซื้อยังต้องรับผิดชอบในการทำพิธีการส่งออกด้วย

FOB – Free On Board

เงื่อนไขนี้ ทางผู้ขายจะสิ้นสุดภาระก็ต่อเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าขึ้นไปบนเรือสินค้าหรือเครื่องบินเรียบร้อยแล้ว โดยผุ้ขายยังคงรับผิดชอบเหมือนกับ incoterms แบบ FAS ทุกอย่าง มีเพิ่มเติมขึ้นมาแค่กรณีการขนสินค้าขึ้นไปบนยานพาหนะนั่นเอง

CFR – Cost and Freight

เงื่อนไขสำคัญที่เพิ่มเข้ามาสำหรับเทอมนี้ก็คือ ผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าด้วยนั่นเอง ส่วนค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจะเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่ของผ่านกาบระวางเรือหรืออยู่ระหว่างการเดินทาง

CIF – Cost, Insurance & Freight

เป็นเงื่อนไขที่มีค่าประกันภัยขนส่งสินค้าเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยผู้ขายจะต้องรับผิดชอบเหมือนกับ CFR ทุกอย่าง เพิ่มเติมคือจะต้องจ่ายค่าประกันภัยด้วยนั่นเอง เพื่อคุ้มครองสินค้าให้แก่ผู้ซื้อด้วย ซึ่ง incoterms รูปแบบนี้ก็เป็นที่นิยมในการเลือกใช้ ในกรณีที่สินค้ามีมูลค่าสูง

CPT – Carriage Paid To

เงื่อนไขนี้จะคล้ายกับ CFR Terms แต่ทางผู้ขายจะมีภาระหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ถึงมือผู้ซื้อในสถานที่ปลายทางที่ระบุไว้ ซึ่งโดยปกติจะส่งถึงมือผู้ให้บริการขนส่งฝั่งปลายทาง หรือ “ผู้รับขนส่ง” ซึ่งภาระของผู้ขายจะสิ้นสุดเมื่อสินค้าถูกส่งมอบไปสู่บริษัทขนส่งนั่นเอง

CIP – Carriage and Insurance Paid To

เทอมสำหรับการส่งสินค้าระหว่างประเทศในเงื่อนไขนี้ ผู้ขายจะมีภาระเหมือนกับ CPT terms แต่จะมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายค่าประกันภัยขนส่งสินค้าด้วย เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้า

DPU – Delivered At Place Unloaded

ผู้ขายทำการส่งมอบสินค้า โดยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงทั้งหมดไปจนถึงการขนถ่ายสินค้าลงจากยานพาหนะ ซึ่งใน Incoterms ฉบับก่อนหน้าปี 2020 DPU จะเรียกว่า DAT (Delivered At Terminal)

DAP – Delivered At Place

ก่อนหน้านี้ เทอมนี้จะมีชื่อเรียกว่า DDU (Delivered Duty Unpaid) ซึ่งก็คือทางผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสินค้าไปจนถึงสถานที่ที่ส่งมอบปลายทางที่ระบุไว้ภายใต้สัญญารับขนส่ง จะยกเว้นแค่เพียงภาษีและพิธการนำเข้า

DDP – Delivered Duty Paid

สำหรับเทอมนี้ ถือว่าเป็น Incoterms ยอดฮิตในการส่งสินค้าระหว่างประเทศ ที่เหมาะกับยุคสมัยปัจจุบัน เพราะเป็นเงื่อนไขที่ทางผู้ขายจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทุกอย่างเลยที่สำคัญคือค่าพิธีการศุลกากรขาเข้าและค่าภาษีขาเข้า อีกทั้งทางผู้ซื้อก็จะชื่นชอบ DDP เป็นพิเศษด้วยเช่นกัน

ถึงแม้ว่าจะมี incoterms ที่ค่อนข้างหลากหลาย แต่ปัจจัยหลักของการเลือกใช้ก็เกี่ยวข้องกับส่วนของภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นกับฝั่งผู้ซื้อหรือผู้ขายนั่นเอง ดังนั้นหากคุณเข้าใจและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขาย ก็จะส่งผลดีกับทั้งสองฝ่าย

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก Karton

Subscribe for our daily News

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ ผู้ส่งออกสินค้าบางประเภทจำเป็นต้องทำการรมยา ( Fumigate ) ก่อนการส่งออกสินค้า ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago

ในหลาย ๆ ครั้งลูกค้าของเราเรียก กรมศุลฯ เป็น กงสุล ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสื่อสารกันคลาดเคลื่อน ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago

ในหลาย ๆ ครั้งลูกค้าของเราเรียก กรมศุลฯ เป็น กงสุล ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจผิดและสื่อสารกันคลาดเคลื่อน ... อ่านต่อ
Admin Karton

3 years ago

ตรวจสอบราคาค่า ส่งพัสดุไปต่างประเทศ

ระบบจะแสดงราคาภายใน 5 วินาที

ประเทศปลายทาง

{{errors.country}}
{{errors.state}}
{{errors.city}}
{{errors.postalCode}}

รายละเอียดพัสดุ

{{errors.total_value}}
{{errors.value}}
{{errors.width}}
{{errors.depth}}
{{errors.length}}
{{errors.weight}}
{{$index+1}}
{{errors.value}}
{{errors.width}}
{{errors.depth}}
{{errors.length}}
{{errors.weight}}
ขนส่งที่ให้บริการ
ระยะเวลาขนส่ง
จุดรับพัสดุ
เงื่อนไข
ค่าบริการ

ประเทศปลายทาง

{{getName}}

{{entry.state}}, {{entry.city}} , {{entry.postalCode}}

รายละเอียดพัสดุ

มูลค่ารวม ฿ {{entry.total_value}}

  • {{item_sub.width}}x{{item_sub.depth}}x{{item_sub.length}} cm {{item_sub.weight}} kg
ขนส่งที่ให้บริการ ระยะเวลาขนส่ง จุดรับพัสดุ เงื่อนไข ค่าบริการ

{{courier.name}}

{{courier.company}}

{{courier.delivery.min}}-{{courier.delivery.max}} วัน {{service_option.label}}
{{service_condition.label}}
ดูเงื่อนไขทั้งหมด
฿ {{courier.price}}
{{service_rule.label}}