บทความ

ศึกษากฎหมายนำเข้าและการส่งของไปอเมริกา เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ !

ศึกษากฎหมายนำเข้าและการส่งของไปอเมริกา เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ !

ประเทศอเมริกา จุดหมายของการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

รายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมายนำเข้าของประเทศอเมริกา

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

  • ศุลกากรและคุ้มครองพรมแดนสหรัฐอเมริกา (CBP)
    เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบด้านการตรวจสอบและปล่อยสินค้าเข้าประเทศอเมริกา โดยมีหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารและสินค้า ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น การชำระภาษีและอากรและการประเมินความเสี่ยง
  • Partner Government Agencies (PGAs)
    เป็นชื่อเรียกของหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานร่วมกับศุลกากรและคุ้มครองพรมแดน (CBP) ในการควบคุมสินค้าที่นำเข้ามายังสหรัฐอเมริกา โดยเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่เฉพาะในการตรวจสอบและควบคุมสินค้าประเภทต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าที่นำเข้ามายังสหรัฐอเมริกาเป็นไปตามกฎระเบียบและข้อกำหนดด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เช่น

    • หน่วยงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช (APHIS) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมสินค้าเกษตร สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์
    • สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์
    • หน่วยงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (EPA) ซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมสินค้าที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สรุปกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

การนำเข้าสินค้า จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายนำเข้าและระเบียบที่เกี่ยวข้องของอเมริกาอย่างเคร่งครัด โดยมีทั้งกฎหมายทั่วไปและกฎหมายเฉพาะทางที่สามารถสรุปออกมาเป็นระเบียบที่ควรรู้ได้ ดังนี้

  • ภาษีนำเข้า
    • ผู้นำเข้าต้องเสียภาษีนำเข้าตามประเภทสินค้า
    • โดยทั่วไป สินค้าที่มีมูลค่าต่ำกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 26,400 บาท) ไม่ต้องเสียภาษี
    • สินค้าอิเล็กทรอนิกส์บางชนิด ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุที่มีอายุ 100 ปีขึ้นไป ยกเว้นภาษีนำเข้า
  • สินค้าต้องห้ามนำเข้า
    • สัตว์เลี้ยงหรือสิ่งมีชีวิต
    • ยาเสพติดทุกชนิด
    • อาวุธปืน
    • สิ่งของมีคม
    • เนื้อสัตว์ที่มีส่วนผสมของหมู ไก่ และไข่ (เช่น หมูแผ่น หมูหยอง)
    • ยารักษาโรคที่ไม่มีใบสั่งจากแพทย์
    • วัตถุอันตรายหรือวัตถุไวไฟ
  • สินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตนำเข้า
    • เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • ยารักษาโรคบางชนิด
    • ผลไม้ ผัก และพืชประเภทถั่ว
    • นม ผลิตภัณฑ์เนย และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและเนย
    • พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช
    • น้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับการจำกัดปริมาณในการขนส่ง เช่น สินค้าประเภทอาหารแห้ง ที่ควรส่งไม่เกิน 10-20 กิโลกรัม ซึ่งหากเกินจะต้องมีเอกสาร Food and Drug Administration (FDA) ที่ทำการควบคุมสินค้าอาหารและยา หรือขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศุลกากร จึงควรศึกษาถึงข้อจำกัดในการขนส่งระหว่างประเทศให้ถี่ถ้วนเสียก่อน

 

เรือขนส่ง นำเข้าสินค้าไปสู่ประเทศอเมริกา

 

ขั้นตอนการนำเข้าสินค้าไปอเมริกา

  • ขอใบอนุญาตนำเข้า

ดังที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าการนำเข้าสินค้าบางประเภทอาจต้องใช้ใบอนุญาต หรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เช่น อาหาร ยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผู้นำเข้าจึงต้องศึกษากฎหมายนำเข้าของประเทศอเมริกาแล้วทำการขอใบอนุญาตจากหน่วยงานที่รับผิดชอบก่อนทำการนำเข้าสินค้าให้เรียบร้อย

  • จัดเตรียมเอกสาร

ก่อนการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าจะต้องจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและครบถ้วน โดยเอกสารที่จำเป็นสำหรับการนำเข้าสินค้าไปอเมริกา มีดังนี้

    • ใบขนสินค้า (Bill of Lading)
    • ใบแจ้งรายละเอียดสินค้า (Commercial Invoice)
    • ใบกำกับราคา (Packing List)
    • ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)
    • ใบอนุญาตนำเข้า (Import License) สำหรับสินค้าบางประเภท
    • เอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบรับรองสุขภาพ ใบรับรองความปลอดภัย
  • ตรวจสอบสินค้า

นอกจาการปฏบัติตามกกฎหมายแล้ว ประเทศอเมริกายังมีข้อกำหนดและมาตรฐานสำหรับการนำเข้าสินค้าประเภทต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหารและสินค้าการเกษตร หรือเสื้อผ้าเด็ก จึงควรตรวจสอบสินค้าก่อนทำการจัดส่งว่าตรงตามมาตรฐานและกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อให้แน่ใจว่าสินค้าจะผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร

  • ชำระภาษีและค่าธรรมเนียม

เมื่อสินค้าผ่านการตรวจสอบและพร้อมที่จะนำเข้า ผู้นำเข้าจะต้องชำระภาษีนำเข้าและค่าธรรมเนียม ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมบริการ ค่าธรรมเนียมการตรวจสอบสินค้า ค่าธรรมเนียมการจัดเก็บสินค้า ตามที่กำหนด เพื่อให้สินค้าเข้าสู่ประเทศได้อย่างถูกต้องไร้ปัญหา

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจเริ่มหนักใจ เพราะข้อกำหนดและกฎหมายนำเข้าของสหรัฐอเมริกาที่มีมากมาย ใครที่อยากเปิดประตูสู่โอกาสทางธุรกิจแต่เริ่มต้นไม่ถูก ไม่รู้ต้องทำเอกสารอะไรบ้าง ขอแนะนำ !คาร์ท็อนเอ็กเพรส แพลตฟอร์มส่งพัสดุไปต่างประเทศ ที่พร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษา จัดเตรียมเอกสารในการนำเข้า ไปจนถึงขั้นตอนการส่งของไปอเมริกาทั้งทางเครื่องบินและทางเรือ การันตีราคาดีที่สุด ! สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://lin.ee/wgGqVLu

ข้อมูลอ้างอิง :

  1. Importing into the United States. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2567 จาก https://www.cbp.gov/sites/default/files/documents/Importing%20into%20the%20U.S.pdf

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก Karton

Subscribe for our daily News

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ชวนผู้ประกอบการ ไปรู้จักกับกฎระเบียบ US FDA ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจส่งออกอาหารไปขายในอเมริกา ตอบให้ครบในบทความนี้อ่านต่อ
primal

8 months ago

ขั้นตอนพิธีการศุลกากรคืออะไร มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศอย่างไรบ้าง เราจะมาบอกให้รู้กันในบทความนี้อ่านต่อ
primal

9 months ago

อยากเปิดธุรกิจ สนใจส่งของไปขายต่างประเทศ หรือนำเข้าสินค้ามาต่อยอด แต่ยังไม่รู้ว่าภาษีนำเข้าคืออะไร มีหลักในการคิดคำนวณอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ!อ่านต่อ
Admin Karton

12 months ago

ตรวจสอบราคาค่า ส่งพัสดุไปต่างประเทศ

ระบบจะแสดงราคาภายใน 5 วินาที

ประเทศปลายทาง

{{errors.country}}
{{errors.state}}
{{errors.city}}
{{errors.postalCode}}

รายละเอียดพัสดุ

{{errors.total_value}}
{{errors.value}}
{{errors.width}}
{{errors.depth}}
{{errors.length}}
{{errors.weight}}
{{$index+1}}
{{errors.value}}
{{errors.width}}
{{errors.depth}}
{{errors.length}}
{{errors.weight}}
ขนส่งที่ให้บริการ
ระยะเวลาขนส่ง
จุดรับพัสดุ
เงื่อนไข
ค่าบริการ

ประเทศปลายทาง

{{getName}}

{{entry.state}}, {{entry.city}} , {{entry.postalCode}}

รายละเอียดพัสดุ

มูลค่ารวม ฿ {{entry.total_value}}

  • {{item_sub.width}}x{{item_sub.depth}}x{{item_sub.length}} cm {{item_sub.weight}} kg
ขนส่งที่ให้บริการ ระยะเวลาขนส่ง จุดรับพัสดุ เงื่อนไข ค่าบริการ

{{courier.name}}

{{courier.company}}

{{courier.delivery.min}}-{{courier.delivery.max}} วัน {{service_option.label}}
{{service_condition.label}}
ดูเงื่อนไขทั้งหมด
฿ {{courier.price}}
{{service_rule.label}}