คำถามที่พบบ่อย
วิธีการสมัครสมาชิก
วิธีการตรวจสอบค่าขนส่ง
DAP , DDP คืออะไร ?
วิธีการสมัครสมาชิก / เปิดเลขสมาชิก
ลูกค้าที่สนใจใช้บริการกับ Karton Express สามารถสมัครสมาชิก หรือ เปิดเลขสมาชิกของลูกค้าได้โดยการ
1. คลิกที่ปุ่มเข้าสู่ระบบ ( ทางขวามือด้านบน )
2. กดที่ข้อความ “สมัครสมาชิก” เพื่อกรอกแบบฟอร์มสมัครสมาชิกหรือ
3. หากลูกค้ามีบัญชี Facebook หรือ Line สามารถสมัครสมาชิกด้วยบัญชี Facebook หรือ Line ได้เช่นกัน
4. เมื่อสมัครสมาชิกเสร็จแล้วระบบจะพาท่านไปยังหน้า Dashboard ซึ่งจะมีหมายเลขสมาชิกของลูกค้าแจ้งให้ทราบ
วิธีการตรวจสอบค่าขนส่ง
Karton Express ให้บริการตรวจสอบค่าบริการขนส่งแบบ Real Time ได้ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ https://www.karton.express ซึ่งระบบจะคำนวณค่าขนส่งและแจ้งให้ลูกค้าทราบแบบอัตโนมัติ
ส่วนข้อมูลของประเทศปลายทาง
1. ช่องประเทศปลายทาง :
เลือกประเทศที่ต้องการส่งสินค้า ส่งพัสดุไป
2. ช่องจังหวัด/รัฐ :
เลือกจังหวัด ( Province ) หรือ รัฐ ( State ) ของผู้รับ หากประเทศปลายทางไม่มีระบบรัฐ ( State ) ช่องนี้อาจจะเป็นรายชื่อจังหวัด , เขต หรือ เมือง แทน
3. ช่องเขต/เมือง :
พิมพ์ชื่อเขตหรือชื่อเมือง ( City ) ซึ่งอาจจะเป็นชื่อเดียวกับช่องจังหวัด / รัฐ ได้
4. ช่องรหัสไปรษณีย์ :
พิมพ์รหัสไปรษณีย์ของที่อยู่ผู้รับ ( ไม่ต้องเว้นวรรค )
ส่วนข้อมูลของรายละเอียดพัสดุ
1. ช่องมูลค่าสินค้ารวม :
กรอกตัวเลขมูลค่าสินค้าทุกชิ้นในกล่องพัสดุ ( กรอกเฉพาะตัวเลข หน่วยเป็นเงินบาท )
2. ช่องจำนวน :
กรอกตัวเลขจำนวนกล่องที่ต้องการส่งไปที่อยู่ผู้รับเดียวกัน ( กรอกเฉพาะตัวเลข )
3. ช่องกว้าง :
กรอกตัวเลขความกว้างของกล่องพัสดุ ( กรอกเฉพาะตัวเลข หน่วยเป็นเซนติเมตร )
4. ช่องยาว :
กรอกตัวเลขความยาวของกล่องพัสดุ ( กรอกเฉพาะตัวเลข หน่วยเป็นเซนติเมตร )
5. ช่องสูง :
กรอกตัวเลขความยาวของกล่องพัสดุ ( กรอกเฉพาะตัวเลข หน่วยเป็นเซนติเมตร )
6. ช่องน้ำหนักต่อกล่อง :
กรอกน้ำหนักของกล่องพัสดุ ( กรอกเฉพาะตัวเลข หน่วยเป็นกิโลกรัม )
เทอมการค้า DAP และ DDP
สำหรับธุรกิจค้าขายข้ามประเทศแบบออนไลน์ ( Cross border e-Commerce ) หรือบุคคลธรรมดาที่ต้องการส่งพัสดุไปต่างประเทศ จะต้องเจอกับเทอมการค้าแบบ DAP และ DDP อยู่บ่อยครั้งเนื่องจากเป็นเทอมการค้าที่นิยมใช้กับระบบขนส่งแบบ Express หรือผ่านไปรษณีย์
DAP ( Delivered At Place )
เทอมการค้านี้ผู้ขายจะรับผิดชอบหน้าที่และค่าใช้จ่ายทุกอย่างตั้งแต่ จัดเตรียมสินค้า ⇢ แพคสินค้า ⇢ ขนส่งไปยังท่าอากาศยาน หรือท่าเรือที่ประเทศต้นทาง ⇢ ดำเนินพิธีการศุลกากรที่ประเทศต้นทาง ⇢ ดำเนินการส่งออกจากประเทศต้นทาง ⇢ ดำเนินพิธีการศุลกากรที่ประเทศปลายทาง ⇢ ขนส่งที่ประเทศปลายทางไปยังสถานที่ของผู้รับ
โดยเทอมการค้าแบบ DAP นี้ หากสินค้าหรือพัสดุที่จัดส่งมีมูลค่ารวมเกิน De Minimis ( มูลค่าที่ไม่ต้องเสียภาษี ) ผู้รับจะต้องมีหน้าที่จ่ายค่า ภาษีนำเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่มนำเข้า ด้วยตนเอง ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ให้บริการขนส่งจะเป็นเรียกเก็บค่าภาษีนำเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่มนำเข้า รวมทั้งค่าธรรมเนียมอื่น ๆ กับผู้รับ ณ เวลาที่ผู้ให้บริการขนส่งไปนำส่งพัสดุสินค้าให้ผู้รับ หรือ อาจจะออกบิลเรียกเก็บภายหลัง
*Credit image : https://internationalcommercialterms.guru/incoterms-ddp/
DDP ( Delivered Duty Paid )
เทอมการค้านี้ผู้ขายจะรับผิดชอบหน้าที่และค่าใช้จ่ายทุกอย่างตั้งแต่ จัดเตรียมสินค้า ⇢ แพคสินค้า ⇢ ขนส่งไปยังท่าอากาศยาน หรือท่าเรือที่ประเทศต้นทาง ⇢ ดำเนินพิธีการศุลกากรที่ประเทศต้นทาง ⇢ ดำเนินการส่งออกจากประเทศต้นทาง ⇢ ดำเนินพิธีการศุลกากรที่ประเทศปลายทาง ⇢ ชำระค่าภาษีนำเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่มแทนผู้รับ ⇢ ขนส่งที่ประเทศปลายทางไปยังสถานที่ของผู้รับ
ซึ่งจะเห็นว่าเทอมการค้าแบบ DDP นี้มีความเหมือนกันกับเทอมการค้าแบบ DAP แทบทุกประการ แต่จะมีการเพิ่ม ผู้ส่งจะเป็นผู้ชำระค่าภาษีนำเข้า และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ด้วย ซึ่งทำให้เทอมการค้านี้เป็นที่นิยมสำหรับการค้าขายแบบ Cross broder e-Commerce เป็นอย่างมากเนื่องจากผู้รับมีหน้าที่แค่รอคอยสินค้าไปส่งเท่านั้น