บทความ

รู้ให้ชัด! ภาษีนำเข้าคืออะไร มีสูตรในการคิดอย่างไรบ้าง?

รู้ให้ชัด! ภาษีนำเข้าคืออะไร มีสูตรในการคิดอย่างไรบ้าง?

ภาษีนำเข้า คืออะไร ส่งผลต่อการซื้อขายอย่างไร

ในปัจจุบันผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากมาย สินค้าจากต่างประเทศจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการจับจ่าย เนื่องจากสินค้าของแต่ละประเทศล้วนมีเอกลักษณ์และมีข้อดีเฉพาะตัวจนกลายเป็นที่ต้องการของตลาด การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศจึงกลายเป็นตัวเลือกที่ผู้ประกอบการหลายคนให้ความสนใจ ยิ่งในปัจจุบันมีบริษัทส่งของไปต่างประเทศมากมายที่พร้อมอำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะสามารถเริ่มทำได้เลย แต่จำเป็นต้องรู้ถึงเงื่อนไขและข้อกำหนดในการเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากสินค้าบางประเภทเสียก่อน สำหรับใครที่ยังข้องใจว่า ภาษีนำเข้า คืออะไร? รวมถึงประเภทของภาษีนำเข้ามีอะไรบ้าง บทความนี้จะมาตอบให้ครบ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถนำไปวางแผนต่อยอดทางธุรกิจได้ในอนาคต

ตอบคำถาม! ภาษีนำเข้า คืออะไร?

ภาษีนำเข้า คือ ภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เพื่อนำรายได้มาใช้ในการพัฒนาประเทศและคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ โดยกำหนดอัตราภาษีให้สูงกว่าราคาสินค้าในประเทศ เพื่อให้สินค้าในประเทศยังคงมีราคาต่ำกว่าและสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้าได้ โดยมี 2 ประเภทหลัก ได้แก่

  • อัตราคงที่ หรืออัตราตามสภาพ คือการคำนวณจากหน่วยของสินค้าที่ถูกกำหนดอัตราภาษีไว้ตายตัวตามจำนวนหน่วย หรือปริมาตร จึงง่ายต่อการคำนวณและดำเนินการ ไม่ขึ้นอยู่กับราคาสินค้านำเข้า ทำให้สามารถคาดการณ์รายได้จากภาษีนำเข้าได้ล่วงหน้า
  • อัตราตามมูลค่า คือภาษีที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้านำเข้า โดยจะเรียกเก็บในอัตราร้อยละของมูลค่าสินค้า เช่น อัตรา 10% ของมูลค่าสินค้านำเข้า ทำให้สามารถควบคุมปริมาณการนำเข้าสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากหากราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ภาษีตามมูลค่าก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งโดยทั่วไป จะใช้อัตราตามมูลค่าหรือตามราคา เพื่อกำหนดราคาสินค้านำเข้า ทำให้ลดอัตราการแข่งขันกับสินค้าในประเทศ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเข้า คือใคร?

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีนำเข้า คือ ผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาภายในประเทศ โดยผู้นำเข้าจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีนำเข้าต่อกรมศุลกากรและชำระภาษีนำเข้าภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่อาจมีข้อยกเว้นบางกรณี ขึ้นอยู่กับ Incoterms ที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หากอยู่ในเทอมที่ผู้ส่งออกมีหน้าที่เสียภาษีนำเข้าแทนผู้นำเข้า ผู้นำเข้าก็สามารถชำระภาษีให้แก่ผู้ส่งออกได้โดยไม่ต้องดำเนินการกับศุลกากร นอกจากนี้ กฎหมายศุลกากรยังได้กำหนดให้สินค้าบางชนิดได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ดังนี้

  • สินค้าที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในกิจการทางศาสนา การศึกษา หรือการวิจัย
  • สินค้าที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในกิจการทางการแพทย์หรือสาธารณสุข
  • สินค้าที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐ

ภาษีนำเข้ามีสูตรในการคิด คืออะไร

 

หลักการคิดภาษีนำเข้า

ศุลกากรกำหนดให้ใช้ราคา CIF เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการคำนวณภาษีนำเข้า โดยมีสูตรในการคำนวณหาราคาทั้งหมด ดังนี้
ราคา CIF มีสูตรคือ Cost ราคาต้นทุนสินค้า + Insurance ค่าประกัน + Freight ค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ

  • ภาษีอากรขาเข้า มีสูตรคือ ราคา CIF x อัตราภาษีขาเข้า (%)
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีสูตรคือ ราคา CIF + อากรขาเข้า x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
  • ภาษีนำเข้าที่ต้องชำระ มีสูตรคือ ภาษีอากรขาเข้า + ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตัวอย่างเช่น นาย A นำเข้านาฬิกาข้อมือจากต่างประเทศ โดยที่นาฬิกามีราคา 25,000 บาท ค่าประกันภัย 1,500 บาท และค่าขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ 2,000 บาท จะสามารถคำนวณ ออกมาได้ดังนี้

  • ราคา CIF คำนวณได้เป็น ค่านาฬิกา 25,000 บาท + ค่าประกันภัย 1,500 บาท + ค่าขนส่ง 2,000 = 28,500 บาท
  • ภาษีอากรขาเข้า คิดโดยกำหนดอัตราภาษีนำเข้าสำหรับนาฬิกาข้อมือไว้ที่ 20% จะสามารถคำนวณได้เป็น 28,500 x 20% = 5,700 บาท
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม คำนวณได้เป็น ราคา CIF 28,500 + ภาษีอากรขาเข้า 5,700 x อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 2,394 บาท
  • ภาษีนำเข้าที่ต้องชำระ คำนวณได้เป็น ภาษีอากรขาเข้า 5,700 + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 2,394 = 8,094 บาท

ซึ่งการรู้สูตรในการหาภาษีนำเข้า จะทำให้สามารถคิดคำนวณเพื่อประเมินราคาและนำมากำหนดราคาขายให้เหมาะสมกับราคาสินค้าได้

เทคนิคการลดภาษีนำเข้าให้เหลือน้อยที่สุด

ตรวจสอบราคาสินค้าให้ไม่เกินราคาที่กำหนด

หลายประเทศมีการกำหนดราคามูลค่าของสินค้านำเข้าที่ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยสินค้าที่มีราคาไม่ถึงเกณฑ์จะได้รับการละเว้นภาษีนำเข้า เช่น สหรัฐอเมริกากำหนดให้สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 800 ดอลลาร์สหรัฐจะไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ส่วนประเทศไทยกำหนดไว้อยู่ที่ราคาไม่เกิน 1,500 บาท จึงควรศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศให้ดีเสียก่อน แต่ก็อาจทำได้กับสินค้าที่มีราคาไม่สูงมาก หรือมีปริมาณจัดส่งไม่เยอะในแต่ละรอบเท่านั้น

 

ใช้บริการ Shipping ที่เคลียร์ภาษีให้

หากต้องการหลีกเลี่ยงความยุ่งยากและค่าใช้จ่ายในการไปดำเนินการเคลียร์ภาษีเอง การใช้บริการ Shipping ที่เคลียร์ภาษีให้ก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ โดย Shipping จะทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าสินค้าและดำเนินการเคลียร์ภาษีนำเข้าให้เรียบร้อยก่อนจัดส่ง จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าจะผ่านพิธีการศุลกากรอย่างถูกต้องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการไปดำเนินการด้วยตนเอง

 

หมดปัญหาวุ่นวายกับภาษีนำเข้าของแต่ละประเทศ ทั้งยังช่วยให้วางแผนธุรกิจในอนาคตได้ง่าย เพียงเลือกใช้บริการ Karton Express บริษัทส่งของไปต่างประเทศ ที่สามารถส่งสินค้าได้ครบวงจรทั่วโลก โดยมีผู้ให้บริการขนส่งให้เลือกอย่างหลากหลาย พร้อมบริการจัดส่งแบบเหมารวมภาษี ทำให้สามารถส่งพัสดุได้อย่างสบายใจ ไม่ต้องกังวลเรื่องการชำระภาษีเพิ่มเติม! ดูรายละเอียดได้ทางเว็บไซต์ของเรา หรือเข้ามาสอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ @kartonexpress

ข้อมูลอ้างอิง :

  1. ภาษีและการคำนวณภาษีนำเข้าที่ธุรกิจนำเข้าต้องรู้!!. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 จาก https://idgthailand.com/ภาษีและการคำนวณภาษีนำเ/
  2. รู้ทัน! “ภาษีนำเข้า” นำเข้าสินค้าอย่างไรให้ปลอดภาษี. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/1004461

ติดตามข่าวสารใหม่ๆ จาก Karton

Subscribe for our daily News

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ชวนผู้ประกอบการ ไปรู้จักกับกฎระเบียบ US FDA ว่าคืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับการทำธุรกิจส่งออกอาหารไปขายในอเมริกา ตอบให้ครบในบทความนี้อ่านต่อ
primal

8 months ago

ขั้นตอนพิธีการศุลกากรคืออะไร มีความสำคัญต่อผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศอย่างไรบ้าง เราจะมาบอกให้รู้กันในบทความนี้อ่านต่อ
primal

9 months ago

บุกตลาดใหญ่ที่เต็มไปด้วยโอกาสแห่งความสำเร็จ ! ศึกษากฎหมายนำเข้าและขั้นตอนการส่งของไปอเมริกาให้ครบถ้วนก่อนเริ่มต้นธุรกิจอ่านต่อ
primal

9 months ago

ตรวจสอบราคาค่า ส่งพัสดุไปต่างประเทศ

ระบบจะแสดงราคาภายใน 5 วินาที

ประเทศปลายทาง

{{errors.country}}
{{errors.state}}
{{errors.city}}
{{errors.postalCode}}

รายละเอียดพัสดุ

{{errors.total_value}}
{{errors.value}}
{{errors.width}}
{{errors.depth}}
{{errors.length}}
{{errors.weight}}
{{$index+1}}
{{errors.value}}
{{errors.width}}
{{errors.depth}}
{{errors.length}}
{{errors.weight}}
ขนส่งที่ให้บริการ
ระยะเวลาขนส่ง
จุดรับพัสดุ
เงื่อนไข
ค่าบริการ

ประเทศปลายทาง

{{getName}}

{{entry.state}}, {{entry.city}} , {{entry.postalCode}}

รายละเอียดพัสดุ

มูลค่ารวม ฿ {{entry.total_value}}

  • {{item_sub.width}}x{{item_sub.depth}}x{{item_sub.length}} cm {{item_sub.weight}} kg
ขนส่งที่ให้บริการ ระยะเวลาขนส่ง จุดรับพัสดุ เงื่อนไข ค่าบริการ

{{courier.name}}

{{courier.company}}

{{courier.delivery.min}}-{{courier.delivery.max}} วัน {{service_option.label}}
{{service_condition.label}}
ดูเงื่อนไขทั้งหมด
฿ {{courier.price}}
{{service_rule.label}}