ลูกค้าบางท่านอาจจะเคยเจอเหตุการณ์ส่งของไปต่างประเทศ โดยชั่งน้ำหนักทั้งกล่องจากที่บ้านสมมติว่าได้น้ำหนัก 10 กิโลกรัมและใช้ขนาดกล่อง 36x50x33 ซม. แต่พอส่งจริงผู้ให้บริการคิดค่าน้ำหนักของขนส่งที่ 12 กิโลกรัมแทน เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ? วันนี้แอดมินจะมาอธิบายให้ฟัง
ก่อนอื่นลูกค้าต้องลองนึกภาพก่อนว่าในกระบวนการขนส่งไม่ว่าจะเป็นทางเรือหรือทางอากาศ พื้นที่ี่จะใช้บรรทุกสินค้าเป็นสิ่งที่มีค่ามากและผู้ให้บริการต้องวางแผนทุกตารางเซนติเมตรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นหากมีลูกค้าท่านใดส่งสินค้าที่น้ำหนักเบา แต่มีขนาดใหญ่กินพื้นที่ ผู้ให้บริการขนส่ง เช่น สายเรือ หรือ สายการบิน จึงต้องหาวิธีการคำนวณน้ำหนักให้กับสินค้าประเภทนี้ ด้วย ไม่เช่นนั้นหากคิดค่าบริการจากน้ำหนักที่ชั่งจริงอย่างเดียว ผู้ให้บริการอาจจะขาดทุนในการขนส่งได้
Actual Weight
Actual weight คือน้ำหนักที่ชั่งได้จริง ๆ อ่านค่าน้ำหนักจากตัวเลขบนตาชั่ง
Dimension Weight
Dimension weight หรือเรียกย่อ ๆ ว่า DIM weight เป็นน้ำหนักที่ถูกคำนวณจากขนาดของกล่องพัสดุโดยใช้สูตร ( กว้าง x ยาว x สูง ) หน่วยเป็น ซม. ÷ 5000 ยกตัวอย่างเช่น หากกล่องพัสดุมีขนาด 36 x 50 x 33 เซนติเมตร จะได้น้ำหนัก DIM weight = 59400÷ 5000 = 11.88 กิโลกรัม
Chargable Weight
Chargable weight คือน้ำหนักที่จะใช้คำนวณค่าบริการจริง โดยจะทำการเปรียบเทียบระหว่าง Actual Weight และ Dimension Weight ของพัสดุ หากน้ำหนักใดมีค่ามากกว่าจะใช้น้ำหนักประเภทนั้นในการคำนวณค่าขนส่ง